วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แนวข้อสอบในรูปแบบต่างๆ


CU-TEP คืออะไร?
ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ที่ทางจุฬาฯ เป็นผู้ออกข้อสอบเอง มีทั้งหมด 3 ส่วน คือ
1. Listening มีทั้งหมด 30 ข้อ
2. Reading มีทั้งหมด 60 ข้อ
3. Writing มีทั้งหมด 30 ข้อ
ข้อละ 1 คะแนนรวมเป็น 120 คะแนน
cu-tep reading:
ข้อสอบจะมี 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 cloze test มี 15 ข้อ
   โดยข้อสอบจะมี passage มาให้และให้เราเลือกเติมลงในช่องว่าง ซึ่งในตัวของข้อสอบนั้นจะมีทั้งวัดความรู้ทางด้าน คำศัพท์ cu-tep และ Grammar ในตัว ซึ่งจะใช้ทักษะด้านการเดาศัพท์ของ Context clue เป็นหลัก
ส่วนที่ 2 จะเป็นบทความขนาดสั้นจำนวน 1 บทความ ความยาวประมาณครึ่ง A4   เรื่องที่มักจะออกจะเป็นลักษณะการเขียนจดหมายทั่วไป หรืออาจจะเป็นบทความสั้นๆ ให้ทำ โดยจะมีทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน
ส่วนที่ 3 คือ บทความขนาดยาวประมาณ 4 บทความ ความยาวบทความละ 1 หน้า A4
             โดยเนื้อหาที่มักจะออกจะเป็นพวกแนว วิทยาศาสตร์ สังคม ประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว และในตัวคำถามที่มักจะเจอคือ ถามชื่อเรื่อง ถาม main idea หรือเป็นพวกการถาม detail ของเรื่องทั้งหมดเป็นหลัก
cu-tep listening:
ข้อสอบจะมี 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 จะเป็นการพูดคุยสนทนาระหว่างบุคคลในเหตุการณ์สั้นๆ
             โดยคำถามส่วนใหญ่จะเป็นถามสำนวน การตีความจากเสียงของผู้พูดเป็นหลัก หรือว่าสิ่งที่เขาแนะนำให้ทำต่อไปคืออะไรเป็นต้น
ส่วนที่ 2 จะเป็นการสนทนาที่ยาวขึ้นกว่าเดิม
             โดยข้อสอบมักจะถาม เกี่ยวกับเรื่องว่าใจความหลักที่ทั้งคู่คุยกันนั้นคืออะไร แล้ว tone ของเรื่องเป็นแบบไหน หรืออาจจะเป็นจำนวนสิ่งที่พวกเขาต้องทำต่อไปคืออะไรเป็นต้น ส่วนที่ 3 จะเป็นการบรรยายของอาจารย์ให้จด lecture ในห้องเรื่อง จะเป็นเนื้อหาเชิง academic ไปเลย แต่จริงๆแล้ว โจทย์จะเอาความยาวของเรื่องมาทำให้เราเหนื่อยอ่าน แต่จริงๆจะถามแต่ใจความหลักของเรื่องมากกว่า และคำที่ต้องรู้จักในข้อสอบประเภทนี้คือคำว่า not, except เป็นต้น
cu-tep writing:
 ข้อสอบจะเป็นลักษณะการวัด error identification หรือจับจุดผิดในตัวของประโยคว่ามีตรงไหนที่ผิด grammar ไปบ้าง โดยจะให้ทำทั้งหมด 30 ข้อ โดยอาจจะเอาประโยคที่ยาวๆ มา หรือสั้นก็ได้ แต่เป้าหมายหลักของตัวข้อสอบเพื่อดูว่าสามารถใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้องแค่ไหน
TOEFL® Internet-Based Test (iBT)
ประเมินทักษะด้านภาษาอังกฤษในสภาพแวดล้อมด้านการศึกษา
Test of English as a Foreign Language® (TOEFL®) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อประเมินทักษะภาษาอังกฤษของผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบทางอินเทอร์เน็ต และเน้นหนักที่การวัดทักษะและความสามารถทางการสื่อสาร
นักเรียนที่ต้องการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรี
 TOEFL คืออะไร
การสอบแบบ iBT เป็นการสอบทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เป็นการสอบที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียนในการสอบ โดยการสอบแต่ละส่วนจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ผู้สอบต้องตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูดทั้งหมด เพราะหมายความว่าเราจะตอบ พูด หรือเขียนไม่ได้เลย ถ้าไม่ตั้งใจฟังตั้งแต่แรก
 สำหรับการสอบ TOEFL iBT จะใช้เวลาสอบประมาณ 4 ชั่วโมง โดยเน้นการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ เพื่อใช้ความรู้ทางภาษาไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูง โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ทักษะ ดังนี้
 1. Reading เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจของการอ่านในเชิงวิชาการของผู้สอบ โดยผู้สอบต้องตอบคำถามจากบทความ 3 บทความ ในแต่ละบทจะต้องตอบคำถาม 12-15 ข้อ ส่วนนี้ต้องทำข้อสอบรวมประมาณ 39-40 ข้อ                          2.Listening เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ผู้สอบต้องฟังบทสนทนาในประเด็นทั่วไป 2 เรื่อง และสถานการณ์จำลองในห้องเรียน 4 เรื่อง ต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยินแต่ละบทสนทนา และเรื่องที่ได้ฟัง โดยส่วนนี้ต้องทำข้อสอบ 34-35 ข้อ                                                                                                                                                    3.Speaking เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการพูดภาษาอังกฤษเนื้อหาเชิงวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามด้วยการพูด รวม 6 ข้อ หลังจากอ่านบทความ และการฟังบรรยายในแต่ละประเด็น โดยแบ่งประเภทของคำถาม ดังนี้
คำถามที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องราวที่ผู้สอบคุ้นเคย อาจเป็นประสบการณ์ หรือทัศนะส่วนตัว มีเวลาในการเตรียมตอบคำถาม 15 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 45 วินาทีในแต่ละข้อ คำถามที่ 3 และ 4 ผู้สอบจะได้อ่านข้อความสั้นๆ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากนั้นจะได้ฟังบทสนทนา หรือการบรรยายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นนั้น ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตอบคำถาม 30 วินาที และตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ คำถามที่ 5 และ 6 ผู้สอบจะได้ฟังบทสนทนาเพื่อการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ หรือฟังบรรยายทางวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน และฟัง โดยการวิเคราะห์ สรุปข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตัวตอบคำถาม 20 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ
 4.Writing เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการเขียนในเชิงวิชาการ โดยผู้สอบต้องแสดงความสามารถในการใช้ภาษา และการคิดวิเคราะห์ การพัฒนาความคิดในประเด็นที่ได้อ่านจากข้อสอบ 2 ข้อ คำถามที่ 1 ผู้สอบจะได้อ่านบทความทางวิชาการในเวลาประมาณ 3 นาที และฟังการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ได้อ่าน จากนั้นผู้สอบต้องสรุปบรรยาย หรือแสดงทรรศนะจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยต้องเขียน 150-220 คำ ในเวลา 20 นาทีคำถามที่ 2 ผู้สอบจะได้อ่านประโยคสั้นๆ และตอบคำถามโดยการบรรยาย หรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลจากสิ่งที่ได้อ่าน โดยต้องเขียนอย่างน้อย 300 คำ ในเวลา 30 นาที
 สำหรับการสมัคร TOEFL iBT แบบออนไลน์ เป็นการสมัครสอบที่รวดเร็ว และประหยัดที่สุด ส่วนการสมัครในรูปแบบอื่นยังมีอยู่ เช่น ทางโทรศัพท์ และไปรษณีย์ โดยดูรายละเอียด และสมัครสอบได้ที่ www.est.org/toefl
IELTS คืออะไร
International English Language Testing System (IELTS) เป็นการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยในปีที่ผ่านมามีผู้เข้าสอบมากกว่าสองล้านคน
เนื้อหาในการสอบ IELTS ได้รับการพัฒนาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติและมีการวิจัยอย่างครอบคลุมเพื่อให้การสอบมีความยุติธรรมและเป็นกลางสำหรับผู้สมัครทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ภูมิหลัง เพศ วิถีการดำเนินชีวิต หรือสถานที่อยู่
คุณสามารถสอบ IELTS Academic หรือ IELTS General Training แล้วแต่กำหนดโดยองค์กรที่คุณสมัครและแผนในอนาคตของคุณ
รูปแบบการสอบ IELTS
IELTS เป็นการสอบวัดทักษะทางภาษาทั้งสี่ด้านและมีด้วยกันสี่หมวด ได้แก่ การฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด คุณจะต้องสอบการฟัง การอ่าน และการเขียนในวันเดียวกันทั้งหมดโดยไม่มีการหยุดพักระหว่างการสอบ ส่วนการพูดอาจสอบในวันเดียวกันกับการสอบอีกสามทักษะ หรือภายในเจ็ดวันก่อนหรือหลังจากนั้น แล้วแต่ทางศูนย์สอบจะกำหนด โดยการสอบทั้งหมดจะใช้เวลาไม่เกินสามชั่วโมง
ทำไมรูปแบบ IELTS จึงยุติธรรมกว่า
เพราะคุณสมควรได้รับโอกาสทำให้ดีที่สุดเหมือนๆ กัน นั่นจึงทำให้ในการสอบ IELTS ต้องจัดเตรียมห้องสอบการพูดที่เงียบและไม่มีการรบกวนหรือการขัดจังหวะ ซึ่งต่างจากการสอบอื่นๆ
นอกจากนี้ IELTS ยังรู้ดีว่าผู้สมัครสอบมีวิธีการที่แตกต่างกันในการตอบคำถาม ตัวอย่างเช่น IELTS อนุญาตให้คุณเลือกตอบคำถามในข้อสอบการอ่านหรือข้อสอบการเขียนได้ตามลำดับที่คุณต้องการ คุณยังสามารถเปลี่ยนแปลงคำตอบในข้อสอบการอ่านระหว่างการสอบอ่าน และแก้ไขคำตอบในข้อสอบการเขียนระหว่างการสอบเขียน
IELTS ย่อมาจากคำว่า International English Language Teaching System ซี่งเป็นการทดสอบความสามารถในการสื่อสารทางภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ Academic และ General Training โดย
-ข้อสอบ Academic ใช้สำหรับการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ หรือศึกษาต่อในต่างประเทศ
-ข้อสอบ General Training ใช้สำหรับการสมัครทำงาน หรือ ขอ Work Permit ในต่างประเทศ
ซึ่งข้อสอบ Academic Module จะแบ่งออกเป็น 4 ทักษะ
1. ทักษะการฟัง Listening Test
ข้อสอบ Listening จะใช้เวลา 40 นาที ข้อสอบแบ่งออกเป็น 4 Parts ทั้งหมด 40 คำถาม หลังจากสอบแล้ว ผู้สอบจะมีเวลาเพิ่มเติม 10 นาที ในการคัดลอกคำตอบลงกระดาษคำตอบ
2. ทักษะการอ่าน Reading Test
ข้อสอบ Reading Test จะใช้เวลาสอบ 60 นาที ข้อสอบจะมี 3 passages แต่ละ passage จะมีความยาวโดยประมาณ 700-800 คำ ซึ่งข้อสอบจะนำมาจาก หนังสือพิมพ์ นิตยสาร งานวิจัยทางวิชาการ หรือ หนังสือเรียน โดยคำถามจะมีทั้งหมด 40 คำถาม
*ข้อสอบ Reading จะไม่มีเวลาเพิ่มเติมให้คัดลอกคำตอบลงกระดาษคำตอบ (ตรงนี้ห้ามลืม)
 3. ทักษะการเขียน Writing Test
ข้อสอบ Writing จะใช้เวลาสอบ 60 นาที ข้อสอบจะมี 2 ส่วน นั่นก็คือ
3.1 Writing Task 1 เขียนอย่างน้อย150 คำ
ชุดคำถามส่วนนี้ จะเป็นการเขียนอธิบายและสรุป Graphs & Diagrams
3.2 Writing Task 2 เขียนอย่างน้อย 250 คำ
ชุดคำถามส่วนที่ 2 จะเป็นการเขียนตอบคำถาม โดยคำถามส่วนมากจะเป็นคำถามเชิงวิเคราะห์ หรือ การแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างคำถามเช่น
The threat of nuclear weapons maintains world peace. Nuclear power provides
Cheap and clean energy.
The benefits of nuclear technology far outweigh the disadvantages.
Do you agree or disagree?
 4. ทักษะการพูด Speaking Test
ข้อสอบ Speaking Test จะประกอบไปด้วย 3 Parts ซึ่งจะใช้เวลาโดยประมาณ 11-14 นาที
คำถามชุดแรกจะเป็นคำถามเกี่ยวกับ คำถามทั่วไป อาจจะเป็นคำถามเกี่ยวกับ ตัวผู้สอบ ครอบครัว ชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นการสนทนาระหว่าง Examiner กับ ผู้สอบ ส่วนนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 นาที
คำถามชุดที่ 2 ผู้สอบจะได้รับการ์ด Topic จากนั้นผู้สอบจะมีเวลา 1 นาทีในการเตรียมคำตอบ ในการตอบผู้สอบจะต้องอธิบายแสดงความเห็นเชิงลึก เกี่ยวกับหัวข้อที่ได้เป็นเวลาโดยประมาณ 2 นาที
คำถามชุดที่ 3 ข้อสุดท้าย จะเป็นการตอบคำถามและสนทนาระหว่าง Examiner และผู้สอบในเชิงลึก หรือคำถามที่ more abstract เพื่อแสดงทักษะความสามารถในการสื่อสารและความคิด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-5 นาที
แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง นั่นก็คือ ไปลองสอบจริง ซึ่งค่าสอบสำหรับ IDP อยู่ที่ 5,900 บาท และ British Council อยู่ที่ 6,300 บาท
การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น(JLPT)
การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (Japanese Language Proficiency Test:JLPT) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น
สถานศึกษาบางแห่งรับสมัครนักศึกษาต่างชาติในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตวิทยาลัย โดยพิจารณาจากผลสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นแทนผลการสอบเพื่อศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น(EJU)
การสอบนี้จัดสอบทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศรวมถึงประเทศไทย สมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น(JEES) เป็นผู้จัดสอบในหลายจังหวัดประเทศญี่ปุ่น ส่วนการสอบต่างประเทศจะดูแลโดย มูลนิธิญี่ปุ่น(Japan Foundation)
ช่วงเวลาที่จัดสอบ
จัดสอบปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคม และ เดือนธันวาคม
การสมัครสอบในประเทศไทย สมัครได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นฯ รอบเดือนกรกฎาคม รับสมัครช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี รอบเดือนธันวาคม รับสมัครช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
วิชาที่สอบแบ่งออกเป็น 2 วิชา คือ
 การอ่าน เป็นการทดสอบในเรื่อง "ตัวอักษร" "คำศัพท์" "ไวยากรณ์" และ "การอ่านจับใจความ"
 การฟัง เป็นการทดสอบการฟังภาษาญี่ปุ่นในรูปแบบต่างๆ
AEIS Test ย่อมาจาก Admission Exercise for International Students Test คือ การสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาลของสิงคโปร์สำหรับนักเรียนต่างชาติ
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการสอบ โดยจะมีการจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในเดือนกันยายน และเดือนตุลาคมของแต่ละปี การสอบนี้มีชื่อเรียกว่า  Admission Exercise for International Students โดยมีชื่อย่อว่า ‘AEIS’
นักเรียนที่มีสิทธิสอบ AEIS สามารถสอบเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3  และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ AEIS เป็นเงิน 672 เหรียญสิงคโปร์ ค่าธรรมเนียมนี้เมื่อจ่ายแล้วไม่สามารถขอคืนได้                                 นักเรียนที่มีสิทธิ์สอบ AEIS จะต้องมีอายุไม่เกิน 2  ปี นับจากเกณฑ์อายุที่รัฐบาลกำหนด
การสอบใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด วิชาที่สอบ ได้แก่ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาวิชาในระดับชั้นก่อนระดับที่เข้าสอบ เช่น นักเรียนที่สอบเข้าประถม 3  จะต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาในระดับประถม 1  และ 2  เป็นต้น    ในการสมัครสอบนักเรียนไม่สามารถระบุชื่อโรงเรียนที่ต้องการเลือก เพราะการได้เข้าเรียนจะพิจารณาจากจำนวนที่ว่างของนักเรียนที่โรงเรียนสามารถรับได้ ที่ตั้งของโรงเรียนรัฐบาลในละแวกใกล้เคียงกับที่นักเรียนพักอาศัยอยู่ และจากผลการสอบ AEIS                                                                                                                                                                                                 นักเรียนสามารถสมัครสอบ  AEIS ได้ปีละ 1  ครั้งเท่านั้น และหากสอบไม่ผ่าน จะต้องรอสอบในปีถัดไป
ในการจัดสรรโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจะพิจารณาจากผลการสอบของนักเรียน และที่ตั้งของโรงเรียนซึ่งจะต้องอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่พัก
นักเรียนต่างชาติทุกคนที่ต้องการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลสิงคโปร์ต้องเข้าสอบ AEIS  ยกเว้นนักเรียนที่สอบเข้าชั้น Primary 1 หรือ JC (Junior College) สามารถติดต่อโรงเรียนได้โดยตรง


GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
องค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามาหาวิทยาลัย ปี 2553
ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %รวม 100 %**หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ3. สอบปีละหลายครั้ง
คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading SkillsPAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. การจัดสอบ จะจัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด

ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553
TU-GET คืออะไร
TU-GET (Thammasat University Graduate English Test) คือการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TU-GET เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ ผู้ประสงค์จะทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของตนเอง ลักษณะและจำนวนข้อสอบ
ข้อสอบ TU-GET แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ความรู้ทางไวยากรณ์ ( Grammar) 25 ข้อ 250 คะแนน
1.1          Sentence Completion ( การเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์)
1.2          Error Identification ( การบ่งชี้ว่าข้อเลือกใดเป็นข้อที่ผิดกฏทางไวยากรณ์)
ตอนที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ ( Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน
2.1          ข้อสอบแบบ Cloze เป็นข้อสอบที่เว้นช่องว่างไว้ให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องโดยเลือกจากคำศัพท์ที่กำหนดให้
2.2          ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยคและให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้

ตอนที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ ( Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน
2.1          ข้อสอบแบบ Cloze เป็นข้อสอบที่เว้นช่องว่างไว้ให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องโดยเลือกจากคำศัพท์ที่กำหนดให้
2.2          ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยคและให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้
ตอนที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ ( Reading Comprehension) 50 ข้อ 500 คะแนน
เป็นการวัดทักษะการอ่านหลายๆ ด้าน เช่น main idea, detail information, pronoun reference, inference และ conclusion เป็นต้น     รวมทั้งสิ้น 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน
หลายๆคนรู้จักสถาบันภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะผู้จัดสอบการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TU-GET แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจาก TU-GET แล้ว สถาบันภาษายังมีได้จัดการทดสอบระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษอื่นๆอีกด้วย วันนี้ Edu_News มีอีก 2 การทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษจากสถาบันภาษามาให้เพื่อนๆได้ทำความรู้จักกันค่ะ ว่าแล้วก็ไปทำความรู้จักกับ TU-SET และ TU-STEPS พร้อมๆกันเลย
1.TU-SET
TU-SET หรือ Thammasat University's School English Test เป็นการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั้งในหลักสูตรปกติและหลักสูตร EP ซึ่งข้อสอบนี้จะสามารถวัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยได้ ทั้งในด้านแกรมม่า คำศัพท์ การการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยข้อสอบ TU-SET แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้ค่ะ
Part 1 :  Listening Comprehension 20 ข้อ (20 คะแนน)
Part 2:   Structure 10 ข้อ (10 คะแนน)
Part 3 :  Vocabulary 10 ข้อ (10 คะแนน)
Part 4 :  Reading Comprehension 30 ข้อ (30 คะแนน)
Part 5 :  Writing (optional)            (20 คะแนน)
Part 6 :  Interview (optional)       (30 คะแนน)
ส่วนที่ 1-4 ใช้เวลาในการทดสอบ 2 ชั่วโมง ส่วนที่ 5 (Writing) ใช้เวลา 1 ชั่วโมง และส่วนที่ 6 (Interview) ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 นาที/คน
รู้จักกับ TU-SET และ TU-STEPS การทดสอบระดับทักษะทางภาษาอังกฤษจากสถาบันภาษา มธ2. TU-STEPS
TU-STEP หรือ Thammasat University Standardized Test for English Professional Skills เป็นแบบทดสอบเพื่อวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้ที่กำลังทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจวัดระดับทักษะทางภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการทำงานและสำหรับการวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้ที่กำลังทำงานอยู่ในหน่วยงานระดับนานาชาติ โดยมาตรฐานของข้อสอบเทียบเท่ากับกับข้อสอบ TOEIC (แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถใช้ยื่นทดแทนกันได้นะคะ) โดยข้อสอบแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. Listening-Speaking      50 ข้อ (50 คะแนน)
2. Sentence Completion                10 ข้อ (10 คะแนน)
3. Passage Completion   10 ข้อ (10 คะแนน)
4. Reading Comprehension          30 ข้อ (30 คะแนน)
ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบจำนวน 700 บาทถ้วนค่ะ ทั้งนี้ใครที่สนใจอยากวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของตนเอง สามารถติดตามวันเวลาในการสมัครสอบต่างๆได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้โดยตรงเลย
The Cambridge English Placement Test
The Cambridge English Placement Test – เป็นข้อสอบที่ใช้วัดระดับภาษาอังกฤษในเบื้องต้นของCambridge ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็ว และ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำหนดข้อสอบที่เหมาะสมให้กับเด็กนักเรียน ข้อสอบแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ การทดสอบการฟัง จะได้ยินอยู่สองครั้งด้วยกัน โดยมีบทพูดของคนหนึ่งคนและบทสนทนาของสองคนให้เราฟัง แล้วให้ตอบว่าเขาพูดเกี่ยวกับอะไร  อีกส่วนคือ การทดสอบความรู้ด้านคำศัพท์ และความสามารถในการอ่าน ด้านคำศัพท์ก็จะเป็นการเลือกคำลงในช่องว่าง และพิมพ์คำศัพท์ที่เหมาะสมลงไป สำหรับการอ่านนั้น จะมีบทอ่านและถามเรื่องจากที่อ่าน
การสอบ Cambridge English จะแตกต่างจาการสอบอื่นๆ เพราะว่าการสอบ Cambridge เป็นการสอบแบบ ผ่านหรือไม่ผ่านดังนั้นจึงสำคัญยิ่งที่ต้องเลือกระดับที่เหมาะกับคุณจริงๆเมื่อเข้าสอบ โดยมีการจำแนกระดับดังต่อไปนี้:
PET – Cambridge English: Preliminary
เป็นระดับต่ำสุด ระดับนี้แสดงให้เห็นว่าคุณมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่สามารถสื่อสารและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปได้

FCE – Cambridge English: First
ผู้ที่อยู่ในระดับชั้นกลางขั้นสูงสามารถเข้าสอบระดับนี้ได้ ระดับนี้แสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษของคุณดีในระดับที่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่อง

CAE – Cambridge English: Advanced
ผู้ที่อยู่ในระดับก้าวหน้าขั้นสูงสามารถเข้าสอบในระดับนี้ได้ เพื่อให้ผ่านระดับนี้คุณจำเป็นต้องมีทักษะด้านการเขียนและการพูดที่ดีมากๆ



CPE – Cambridge English: Proficiency
สำหรับนักเรียนที่ต้องการพิสูจน์ว่าระดับภาษาอังกฤษของตนนั้นใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาต้องสอบระดับนี้ นี่เป็นการสอบที่ยากสุด
ผลการสอบ Cambridge นี้ไม่มีวันหมดอายุ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะสอบเมื่อเรียนจบคอร์สภาษาอังกฤษเหมือนกับการสอบไฟนอลของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

The Cambridge English Placement Test เป็นข้อสอบออนไลน์ที่ง่ายในการทดสอบ และ มีความแม่นยำสูง ซึ่งท่านสามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเอง:        
-ว่านักเรียนมีภาษาอยู่ในระดับใด
-ว่าหลักสูตร และ ชั้นเรียนไหนที่จะเหมาะสมกับนักเรียน  
-ว่านักเรียนควรจะสอบข้อสอบตัวไหนของ Cambridge
ข้อสอบจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที และ สามารถจัดการสอบได้ตามจำนวนที่ต้องการ
          The Cambridge English Placement Test เป็นข้อสอบในระดับสากลที่ใช้ประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษทั่วไป เน้นทักษะด้านการอ่าน การใช้ภาษา และ ทักษะด้านการฟัง 
ข้อสอบถูกออกแบบให้วัดระดับภาษาของนักเรียน และ นำไปเทียบกับกรอบมาตรฐานอ้างอิงด้านภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) – การกำหนดคะแนนที่ได้มาตรฐานถูกนำมาใช้ทั่วโลก เพื่อบรรยายถึงความสามารถด้านภาษาของผู้สอบ และประเมินผลคะแนนอย่างละเอียด เริ่มจาก ระดับ ต่ำกว่า A1 ถึงระดับ C2
คะแนนที่นักเรียนจะได้เริ่มจาก 1-100 คะแนน และ จะบอกระดับที่เหมาะสมของนักเรียนในตาราง CEFR ซึ่งจะทำให้ทราบว่านักเรียนต้องสอบกับข้อสอบของ Cambridge English  ตัวไหนที่ตรงกับระดับภาษาของนักเรียน
CPT Score
CEFR level
90–100
C2 (Very Advanced)
75–89
C1 (Advanced)
60–74
B2 (Higher Intermediate)
40–59
B1 (Lower Intermediate)
20–39
A2 (Elementary)
10–19
A1 (Beginner)
0–9
Pre–A1

ข้อสอบตัวอย่างจะทำให้ท่านเข้าใจรูปแบบของข้อสอบมากขึ้น สามารถทดลองทำข้อสอบได้ฟรีทางออนไลน์ ชุดข้อสอบตัวอย่างนี้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำความรู้จักกับโครงสร้างของข้อสอบ และ นักเรียนต้องเจอกับคำถามประเภทไหนบ้าง
ข้อสอบ CEFR คืออะไร
 จะว่าไปแล้ว CEFR ก็ไม่ธรรมดานะสำหรับหลายๆคน เป็นด่านหินเหมือนกัน เพราะมาตรฐานทางด้านภาษาของเขาคือ เรียนไปแล้วต้องสามารถสื่อสารได้นั่นเอง สังเกตจากฝรั่งมาเที่ยวเมืองไทย ที่เขาไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในประเทศเขาเลย เขาเรียนเป็นภาษาที่สองนี่แหละ แต่ก็สามารถสื่อสารได้ค่อนข้างดีทีเดียว ต่างกับเราแบบค่อนข้างมากโขอยู่
ซึ่ง CEFR ก็แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ( A B C ) 6 ระดับด้วยกัน


ระดับ      คำอธิบาย
A1           ผู้เรียนสามารถใช้และเข้าใจประโยคง่ายๆในชีวิตประจำวันสามารถแนะนำตัวเองและผู้อื่น ทั้งยังสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลอื่นได้เช่น เขาอยู่ที่ไหน รู้จักใครบ้าง มีอะไรบ้าง และตอบคำถามเหล่านี้ได้ทั้งยังสามารถเข้าใจบทสนทนาเมื่อคู่สนทนาพูดช้าและชัดเจน
A2           สามารถ ใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันในระดับกลางเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวการจับจ่ายใช้สอย สถานที่ ภูมิศาสตร์ การทำงาน และสามารถสื่อสารในประโยคในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไป และการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถบรรยายความฝัน ความคาดหวัง ประวัติ สิ่งแวดล้อม และสิ่งอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้
B1           ผู้เรียนสามารถพูด เขียน และจับใจความสำคัญของข้อความทั่วๆไปได้เมื่อเป็นหัวข้อที่คุ้นเคย หรือสนใจ เช่น การทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง ฯลฯสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางในประเทศที่ใช้ภาษาได้สามารถบรรยายประสบการณ์ เหตุการณ์ ความฝัน ความหวัง พร้อมให้เหตุผลสั้นๆได้
B2           หากได้ใบประกาศนียบัตร ระดับ B2 แสดงว่าความรู้ภาษามาตรฐานของคุณอยู่ในระดับดี ด้วยความรู้ระดับนี้คุณสามารถจะใช้ภาษา พูดและเขียนได้แทบทุกเรื่อง อย่างถูกต้องและคล่องแคล่วขึ้นรวมทั้งสามารถจะอ่านและทำความเข้าใจบทความที่มีเนื้อหายากขึ้นได้
C1           ผู้เรียนสามารถเข้าใจข้อความยาวๆที่ซับซ้อนในหัวข้อหลากหลายและเข้าใจความหมายแฝงได้สามารถแสดงความคิดความรู้สึกของตนได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ สามารใช้ภาษาทั้งในด้านสังคมการทำงานหรือด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถพูดและเขียนข้อความที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจนและถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์พร้อมทั้งสามารถใช้คำเชื่อมประโยคได้อย่างถูกต้อง
C2           หาก สอบได้ประกาศนียบัตรนี้ แสดงว่าคุณสามารถใช้ภาษามาตรฐานได้อย่าง สละสลวยถูกต้องตามจุดประสงค์ที่จะสื่อสารได้ดี ด้วยความรู้ระดับนี้คุณสามารถจะอ่าน บทความที่เป็นภาษาต้นฉบับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวรรณกรรม) ได้เข้าใจ สามารถ และเลือกใช้ภาษาสำหรับพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสม
Gmat คืออะไร
GMAT Graduate Management Admission Test หรือข้อสอบ GMAT
        เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE(แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

ภาพรวมของข้อสอบ
  เป็นการวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและการเขียน, ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการ คำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ  จาก website ของผู้ออก ข้อสอบ www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้
»             ความรู้เฉพาะทางของธุรกิจเช่น มาตรฐานของบัญชี หรือ กฎหมายธุรกิจ
»             ทักษะเฉพาะด้านของงาน (specific job skill) หรือเนื้อหาจากบทเรียนระดับปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหาร
»             คุณสมบัติอื่นของการเป็นนักธุรกิจที่ดีเช่นความมุ่งมั่น, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ข้อสอบ GMAT Online         รูปแบบของข้อสอบและเวลา
ข้อสอบ GMAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนคือ
1.             การเขียน (Analytical Writing Assessment)
2.             คณิตศาสตร์ (Quantitative)
3.             ภาษาอังกฤษ (Verbal) ข้อสอบการเขียน (AWA)
ข้อสอบ GMAT เริ่มจากการทำข้อสอบเขียนก่อนเสมอ โดยจะมีรูปแบบของข้อสอบ 2 ลักษณะได้แก่
1.             การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue) และ
2.             การเขียนเพื่อแสดงวิจารณ์บทความ (Argument) ผู้เข้าสอบจะมีเวลา 30 นาทีต่อหนึ่ง essay
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (Quantitative)
หลังจากการพักจากข้อสอบการเขียน 10 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์เลขแบบ multiple-choice จำนวน 37 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสองลักษณะนั้นคือ
1.             Problem Solving ~24 ข้อ
2.             Data Sufficiency ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด
ข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal)
หลังจากการพักจากข้อสอบคณิตศาสตร์แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพักหรือทำข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal) ต่อเนื่องเลยได้ โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสามลักษณะนั้นคือ
1.             การอ่าน (Reading Comprehension) ~14 ข้อ
2.             การวิเคราะห์ (Critical Reasoning) ~14 ข้อ
3.             ไวยากรณ์และการเขียน (Sentence Correction) ~13 ข้อ
โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด
การสอบของประเทศแคนนาดา    
ความรู้เกี่ยวกับการสอบในแคนนาดา
ความรู้เกี่ยวกับการสอบ SAT
                SAT หรือ Scholastic aptitude Test I และ SAT II หรือ Scholastic aptitude Test II ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่า Achievement Test หรือ Act เป็นข้อสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ ความสามารถของนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีใน มหาวิทยาลัยต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาและบางมหาวิทยาลัยที่สอนหลักสูตรนานาชาติในเมืองไทย
 ข้อสอบ SAT แบ่งออกเป็น 7 section เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง โดยจัดแบ่งข้อสอบดังนี้
1.            SAT Verbal : มี 3 ส่วน ซึ่งทดสอบในเรื่องของ Reading , Grammar และ Analytical Reasoning โดยมีรูปแบบของคำถามเป็น Analogies,Sentence Completion และ Critical Reading ระยะเวลาของการสอบคือ 1 ชั่วโมง 15 นาที
2.            SAT Math : มี 3 ส่วนเช่นกัน ซึ่งทดสอบในเรื่องของ Algebra, Arithmetic และ Geometry โดยมีรูปแบบของคำถามแบบ QuantitativeComparisons (QCs), Regular Math และ Grid-ins ระยะเวลาของการสอบคือ 1 ชั่วโมง 15 นาที
3.            Experimental : การสอบใน 1 section ที่เหลือนี้ จะเป็นเรื่องของบททดสอบ ซึ่งอาจเป็นทางด้านของVerbal หรือ Math และใช้เป็นข้อมูลภายในของ ETS เท่านั้น คะแนนในส่วนนี้ จะไม่นำมารวมกับคะแนนในส่วนอื่นๆ



ความรู้เกี่ยวกับการสอบ ACT
ACT หรือ American College Testing เป็นการสอบวัดระดับทักษะการใช้เหตุผลและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการเรียนในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย ข้อสอบ ACT เป็นแบบทดสอบมาตรฐานสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (High School) ในประเทศสหรัฐอเมริกามักจะต้องสอบเพื่อนำผลคะแนนไปสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป                                                                                                                                                                             ข้อสอบ ACT มีคะแนนเต็มทั้งสิ้น 36 คะแนน จากการสอบทั้งหมด 5 ส่วนดังต่อไปนี้                                                                   1.             English (75 ข้อ 45 นาที) ลักษณะการสอบจะเป็นการวัดทักษะทาง Grammar                                                                    2.       Mathematics (60 ข้อ 60 นาที) ประกอบไปด้วยเนื้อหา Algebra, Geometry และ Trigonometry โดยผู้สอบสามารถใช้เครื่องคิดเลขได้                                                                                                                                                           3.            Reading (40 ข้อ 35 นาที) ประกอบไปด้วย 4 Passage ในเรื่องต่อไปนี้:Prose Fiction (เรื่องสั้นหรือนวนิยาย), Social Science (ประวัติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จิตวิทยา เป็นต้น), Humanities (ศิลปะ, ดนตรี, การออกแบบ เป็นต้น), Natural Science (Physics, Chemistry, Biology เป็นต้น)                                                                                   4.     Science Reasoning (40 ข้อ 35 นาที) ประกอบไปด้วย 7 Passage โดยแต่ละ Passage จะมีคำถาม 5-7 คำถาม                                                                                                                                                                                  5.            Writing (30 นาที) โดยคะแนนในส่วนนี้จะมีผลต่อคะแนน English เท่านั้น หากผู้สอบทำคะแนนในส่วนนี้ได้น้อยจะส่งผลให้คะแนน English ต่ำลงไป
 ข้อสอบ ACT ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงของ SAT
                มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกามักจะยินดีรับผลสอบทั้งสอง ขึ้นอยู่กับว่านักเรียนจะเลือกใช้ผลตัวไหนยื่นสมัครเรียน
ความรู้เกี่ยวกับการสอบ CAEL                                                                                                                                                  ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำระบบการสอบ CAEL test หรือ Canadian Academic English Language Assessment คือการสอบวัดทักษะทางภาษามาใช้ทำการทดสอบภาษาอังกฤษ สำหรับการศึกษาต่อในแคนาดาแล้ว การสอบ Cael Test นี้เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาต่อในแคนาดา ระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี/โท/เอก และอนุปริญญา/วุฒิบัตร/ประกาศนียบัตร รวมทั้งสำหรับผู้ต้องการทดสอบพื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อไปเรียนต่อที่แคนาดา โดยไม่ต้องสอบ TOEFL หรือ Ielts อีก การสอบ Cael Test นี้รับรองโดยสถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยระดับท็อปเท็นกว่า 100 แห่งในแคนาดา
               

ลักษณะข้อสอบ และการวัดผล
                การสอบนี้ จะเป็นการจำลองบรรยากาศให้เหมือนกับเวลาที่นักศึกษาเข้าไปฟังเลคเชอร์ในชั้นเรียน ที่มหาวิทยาลัยในแคนาดา เพื่อดูว่าผู้สอบสามารถทำความเข้าใจได้มากน้อยเพียงใด เมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับการไปศึกษาจริงๆ โดยไม่มีการเน้นเรื่องของ Grammar มากนัก ทำให้การสอบนี้ไม่ยากจนเกินไป ซึ่งการสอบ CAEL test นี้ได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยระดับท็อปฮิตกว่า 100 แห่งในแคนาดา ส่วนคะแนนที่สอบ จะตัดที่ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบได้กับ 550 คะแนนของการสอบ TOEFL หรือ 6.5 คะแนนของการสอบ IELTS





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น